แนวคิดและทฤษฎีAbraham Maslow

แนวคิดและทฤษฎีของ Abraham H.Maslow

Abraham H.Maslow

ชื่อทฤษฎี :  ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ (Hierachy of Need Theory) 

                           หรือ ทฤษฎีการจูงใจ (Maslow's Theory of Motivation)
        
หลักการและแนวความคิด 

            Maslow มองว่ามนุษย์แต่ละคนมีศักยภาพพอสำหรับที่จะชี้นำตัวเอง มนุษย์ไม่อยู่นิ่งแต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ ที่แวดล้อมและแสวงหาความต้องการที่จะเข้าใจตนเอง  ยอมรับทั้งในส่วนดีส่วนบกพร่อง รู้จักจุดอ่อน และความสามารถของตนเอง เขายังเชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็น "สัตว์ที่มีความต้องการ" และเป็นการยากที่มนุษย์จะไปถึงขั้นของความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์ Maslow ได้อธิบายว่า เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจ และเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วก็ยังคงเรียกร้องความ      พึงพอใจสิ่งอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งเป็นคุณลักษณะของมนุษย์ที่มีความต้องการจะได้รับสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ Maslow กล่าวว่า ความปรารถนาของมนุษย์นั้นติดตัวมาแต่กำเนิด และความปรารถนาเหล่านี้จะเรียงลำดับขั้นของความปรารถนาตั้งแต่ขั้นแรกไปสู่ความปรารถนาขั้นสูงขึ้นเป็นลำดับ 

 


Maslow’s Hierarchy of needs Theory แบ่งลำดับความต้องการของมนุษย์ไว้ดังนี้

          ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiologicl needs) ความต้องการในขั้นนี้เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (ฺBasic needs) ซึ่งมีพลังมากที่สุดเพราะเป็นความต้องการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ปัจจัย 4 อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค  ความต้องการเหล่านี้ถือว่ามีความจำเป็น หากมนุษย์ไม่ได้รับความต้องการอย่างเพียงพอก็จะส่งผลต่อคุณภาพทางร่างกายตลอดจนประสิทธิภาพการทำงานให้ประสบความสำเร็จ

          ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and security needs) ความต้องการในขั้นนี้จะเกิดเมื่อมนุษย์สามารถตอบสนองความต้องการทางร่างกายแล้ว  มนุษย์ก็จะเพิ่มความต้องการในระดับที่สูงขึ้น คือต้องการความมั่นคงปลอดภัยทั้งด้านร่างการและจิตใจ  ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยด้านหน้าที่การงาน เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงของฐานะการเงิน การมีรายได้ที่มั่นคง มีเจ้านาย หัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงานที่ดี ล้วนจัดอยู่ในความต้อ่งการนี้ ที่ทำให้เกิดความสำเร็จทั้งในเรื่องส่วนตัวและการงานอย่างแน่นอน หากเขาได้รับความรู้สึกว่ามั่นคงและปลอดภัย
         ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belonging and love needs)  ความ ต้องการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางด้านร่างกายและความต้องการความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ย่อมต้องการได้รับความรักและความเป็นเจ้าของโดยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น  ต้องการได้รับการยอมรับ ได้รับความชื่นชมจากผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งปฏิิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม กล่าวคือ มนุษย์ชอบการคบหาสมาคมกับผู้อื่น ไม่ชอบอยู่ลำพัง ต้องการความรัก มิตรภาพ ความใกล้ชิดผูกพัน การมีโอกาสเข้าสมาคมสังสรรค์กับผู้อื่น ได้รับการยอมรับจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม 

          ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem needs) เมื่อความต้องการทางสังคมได้รับการตอบสนองแล้ว คนเราจะต้องการสร้างสถานภาพของตัวเองให้สูงเด่น มีความภูมิใจและสร้าง การนับถือตนเอง ชื่นชมในความสำเร็จของงานที่ทำ ความรู้สึกมั่นใจในตัวเองแลเกียรติยศ ความต้องการเหล่านี้ได้แก่ ยศ ตำแหน่ง ระดับเงินเดือนที่สูง งานที่ท้าทาย ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงาน โอกาสแห่งความก้าวหน้าในงานอาชีพ เป็นต้น

          ขั้นที่ 5 ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (Self actualization needs) ป็นความต้องการระดับสูงสุด คือต้องการจะเติมเต็มศักยภาพของตนเอง ต้องการความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาสูงสุดของตัวเอง ความเจริญก้าวหน้า การพัฒนาทักษะความสามารถให้ถึงขึดสุดยอด มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจและการคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ การก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นในอาชีพและการงาน เป็นต้น
มาสโลว์แบ่งความต้องการเหล่านี้ออกเป็นสองกลุ่ม คือ ความต้องการที่เกิดจากความขาดแคลน (deficiency needs) เป็น ความต้องการ ระดับต่ำ ได้แก่ความต้องการทางกายและความต้องการความปลอดภัย อีกกลุ่มหนึ่งเป็น ความต้องการก้าวหน้า และพัฒนาตนเอง (growth needs) ได้แก่ความต้องการทางสังคม เกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการเติมความสมบูรณ์ให้ชีวิต จัดเป็นความต้องการระดับสูง และอธิบายว่า ความต้องการระดับต่ำจะได้รับการสนองตอบจากปัจจัยภายนอกตัวบุคคล ส่วนความต้องการระดับสูง จะได้รับการสนองตอบ จากปัจจัยภายในตัวบุคคลเอง
                       
การนำไปใช้ 

               ความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์ล้วนแล้วแต่เป็นพื้นฐาน  และจำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์  ทุกคน  ความต้องการจึงเป็นจึงเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ใช้เป็นแรงผลักดันให้เกิดให้เกิดการกระทำเพื่อตอบสนองความต้องการ ซึ่งที่พักอาศัยเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ ที่ใช้สำหรับการกินอยู่หลับนอน เป็นที่สำหรับคุ้มครองปกป้องร่างกายมนุษย์ให้รอดพ้นจากอันตราย เพื่อให้การดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติสุข อาจกล่าวได้ว่าการนำทฤษฎีของมาส์โลว์มาใช้ในหน่วยงานที่เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก หากต้องอาศัยความเอาใส่ต่อบุคลากรในหน่วยงานเป็นหลัก เมื่อรู้จักคนและหน่วยงานของตนเองดีแล้ว ย่อมสามารถเลือกพัฒนาต่อยอดในสิ่งที่ดีและปรับปรุงข้อด้อยให้ดีได้

*********************

ความคิดเห็น

  1. แนวคิดและทฤษฎีของ Luther Gulick

    ชื่อทฤษฎี : กระบวนการบริหาร POSDCoRB

    หลักการและแนวคิด

    POSDCoRB คือ หลักในการบริหารจัดการองค์กรที่ใช้กันทั้งในภาครัฐ และ เอกชน ที่ผู้มีอำนาจบริหารมีหน้าที่ และ บทบาทการบริหารอยู่ 7 ประการ คือ

    P- Planning หมายถึง การวางแผน ได้แก่ การจัดวางโครงการและแผนงานต่างๆ ขึ้นมาไว้ล่วงหน้า
    O-Organizing หมายถึง การจัดองค์การ ได้แก่ การแบ่งงาน การกำหนดส่วนงาน โครงสร้างขององค์การ การกำหนดตำแหน่งงานต่างๆ พร้อมกับอำนาจหน้าที่
    S-Staffing หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับตัวบุคคลในองค์การ นับตั้งแต่ การจัดอัตรากำลัง การสรรหา การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้งบุคคล การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เงินเดือน การโยกย้าย การพัฒนาบุคคลในองค์การเรื่อยไปจนกระทั่งการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่ง
    D-Directing หมายถึง การอำนวยงาน ได้แก่การทำหน้าที่ในการตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ การออกคำสั่ง มอบหมายภารกิจการงานไปให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หลังจากนั้นต้องใช้ภาวะของการเป็นผู้นำในการกระตุ้นจูงใจคนให้ยอมรับในผู้บริหาร
    Co- Coordinating หมายถึง การประสานงาน ได้แก่ การทำหน้าที่ในการประสานกิจกรรมต่างๆ ที่ได้มีการแบ่งแยกออกไปเป็นส่วนงานย่อยๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถทำงานประสานสอดคล้องกัน และมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
    R- Reporting หมายถึง การรายงาน ได้แก่การทำหน้าที่ในการรับฟังรายงานผลการฏิบัติงานของบุคคลและหน่วยงานที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาได้รายงานมา การรายงานถือเป็นมาตราการในการตรวจสอบและควบคุมงานด้วย
    B- Budgeting หมายถึง การงบประมาณ ได้แก่ หน้าที่ที่เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ การจัดทำบัญชีการใช้จ่ายเงินและการตรวจสอบควบคุมด้านการเงิน การบัญชีของหน่วยงานนั่นเอง

    ตอบลบ
  2. แนวคิดและทฤษฎีของ Frederick W. Taylor

    ชื่อทฤษฎี : การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

    หลักการและแนวคิด

    Frederick W. Taylor ชี้ให้เห็นถึงข้อดีของวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มีความสำคัญและดีกว่าการจัดการแบบความเคยชิน หรือ Rule of Thumb ซึ่งเป็นการบริหารที่ไม่มีรูปแบบ อาศัยวิธีการบริหารแบบเก่าๆ ที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษ Taylor จึงเสนอให้องค์การมีการจัดตั้งระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาใช้โดยอาศัยวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยนั่นคือ การสร้างหลักการบริหารต้องทำอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยเทคนิคหรือวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คือ กฎระเบียบ วิธีการในทำงาน มาตรฐานการทำงานที่องค์การจะนำมาใช้ ต้องผ่านการศึกษาวิเคราะห์เชิงประจักษ์เสียก่อนโดยมีการสังเกต จับเวลา จดบันทึกวิเคราะห์วิจัยมาแล้วอย่างดีว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดแล้ว สามารถนำมาใช้ในการทำงานนั้นๆ ได้อย่างดีหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ได้กำหนดถึงภารกิจของฝ่ายจัดการนั้นมีอยู่ 4 ข้อ
    1.พัฒนาหลักการแบบวิทยาศาสตร์ขึ้นมาใช้เป็นมาตรฐานในการทำงาน
    2. ต้องมีการคัดเลือกคนตามหลักการวิทยาศาสตร์
    3. ต้องพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
    4. สร้างความร่วมมือในการทำงานอย่างฉันท์มิตรให้เกิดขึ้นในองค์การ

    ตอบลบ
  3. แนวคิดและทฤษฎีของ Henry L. Gantt

    ชื่อทฤษฎี : ทฤษฎีองค์การและการจัดการเชิงกลยุทธ์ชั้นสูง

    หลักการและแนวคิด

    Henry Laurence Gantt (1861-1919) เคยเป็นผู้ช่วย Taylor ในโรงงานเหล็กเบ็ทเลเฮ็ม ต่อมาภายหลังเขาได้แยกมาทำงานส่วนตัว และได้พัฒนาเทคนิคพิเศษขึ้นมา 2 ประการ เพื่อปรับปรุงงานของฝ่ายผลิต ได้แก่
    1) นำเอากราฟ "Gantt Chart" มาเป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น
    2) เขายังได้คิดวิธีจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานแบบใหม่ โดยใช้วิธีให้สิ่งจูงใจ ระบบที่Gantt พัฒนาขึ้นเป็นการประกันค่าจ้างต่ำสุดที่คนงานจะได้รับไม่ว่าเขาจะทำงานถึงมาตรฐานหรือไม่ก็ตาม แต่คนที่ทำงานได้ผลผลิตมากกว่าจุดต่ำสุดที่โรงงานกำหนด เขาจะได้รับเงินแถมหรือโบนัส

    Gantt เป็นที่รู้จักดีที่สุดในการพัฒนาวิธีการอธิบายแผนโดยกราฟเรียกว่า ผังแกนต์ (Gantt Chart) และสร้างการควบคุมการจัดการที่ดีขึ้น ส่วนต้นทุนเขาเน้นความสำคัญของเวลาเช่นเดียวกับต้นทุนในการวางแผนและการควบคุมงาน ทำให้ผัง Gantt มีชื่อเสียง และนำมาใช้อย่างกว้างขวางเป็นรูปแบบของเทคนิคในปัจจุบัน

    ตอบลบ
  4. แนวคิดและทฤษฎีของ Frank & Lillian Gilbreth

    ชื่อทฤษฎี : การเคลื่อนไหวและเวลา (Time – and – motion)

    หลักการและแนวคิด ของ Frank Bunker และ Lillian Gilbreth เกิดขึ้นเพราะLillian สนใจในลักษณะการทำงานของมนุษย์ ส่วน Frank สนใจในประสิทธิภาพการทำงาน (การค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน) Frank จึงได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการเคลื่อนไหวและเวลา”: Father of time and motion study เนื่องจากได้มีการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา Gilbreth เรียกวิธีการนั้นว่า “Therbligs”

    ตอบลบ
  5. แนวคิดและทฤษฎีของ Max Weber

    ชื่อทฤษฎี : ทฤษฎีระบบราชการ “Bureaucracy”

    หลักการและแนวคิด

    ระบบราชการ (bureaucracy) จะทำหน้าที่เป็นกลไกการบริหารของกลุ่มชน โดยผู้นำจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายปกครอง บังคับบัญชาโดยผ่านระบบราชการ องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการดังนี้
    1. หลักลำดับขั้น(hierachy)
    2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)
    3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
    4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
    5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน
    (differentation, specialization)
    6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
    7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization)

    ตอบลบ
  6. แนวคิดและทฤษฎีของ Henri Fayol

    ชื่อทฤษฎี : ทฤษฎีการบริหาร POCCC

    หลักการและแนวคิด

    เฮนรี่ ฟาโยล (Henri Fayol) ได้สรุปเป็นทฤษฎีว่า หากวันหนึ่งคุณต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องใช้คนจำนวนมากๆ ในการทำงานแล้วละก็หัวใจของการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายนั้น มีองค์ประกอบด้วยกัน
    5 ปัจจัย เรียกว่า POCCC มีดังนี้
    1. การวางแผน (Planning)
    2. การจัดองค์การ (Organizing)
    3. การบังคับบัญชาหรือการสั่งการ (Commanding)
    4. การประสานงาน (Coordinating)
    5. การควบคุม (Controlling)

    ตอบลบ
  7. แนวคิดและทฤษฎีของ Elton Mayo

    ชื่อทฤษฎี : ทฤษฎีการจัดการแบบมนุษย์สัมพันธ์

    หลักการและแนวคิด

    Elton Mayo เป็นนักสังคมวิทยาทำงานอยู่ฝ่ายการวิจัยอุตสาหกรรมของฮาร์วาร์ด (The Department of Industrial Research at Harvard) เขาได้ชื่อว่าเป็น “บิดาของการจัดการแบบมนุษย์สัมพันธ์ (Human relations)” จากการการศึกษาที่เรียกว่า Hawthorn Study ที่บริษัท Western Electric Company ในชิคาโก ในปี ค.ศ.1927-1932 การศึกษาดังกล่าวนี้เริ่มต้นด้วยการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical environment) กับประสิทธิภาพในการทำงาน (Productivity) โดยเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ คือ ศึกษาสภาพของห้องทำงาน การสัมภาษณ์ และการสังเกต
    ซึ่งมีข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษา 2 ประการ คือ
    1. พฤติกรรมของคนงานมีการปฏิบัติตอบต่อสภาพแวดล้อม ทั้งสองทางด้วยกัน คือ ทั้งต่อสภาพทางกายภาพที่ เป็นสภาพแวดล้อมรอบตัว (Physical environment) ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมของงาน และยังมีการปฏิบัติตอบต่อสภาพแวดล้อมของเรื่องราวทางจิตวิทยา และสังคมของที่ทำงานด้วย สภาพเหล่านี้ก็คือ อิทธิพลของกลุ่มไม่เป็นทางการ (Informal group) การยอมรับในฐานะของตัวบุคคล และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
    2. ความเข้าใจว่า คนจะมีพฤติกรรมเป็นไปตามเหตุผลเท่านั้น โดยข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้ใหม่ก็คือ คนจะมีพฤติกรรมที่ไม่เป็นตามเหตุผล ก็คือ มีอารมณ์ มีความนึกคิด ความชอบพอ ตลอดจนความพอใจอื่นๆของตน รวมทั้งความอบอุ่นใจและความสนุกสนานในการทำงานด้วย

    ตอบลบ
  8. แนวคิดและทฤษฎีของ Frederick Herzberg

    ชื่อทฤษฏี : ทฤษฎีสองปัจจัย (Two-factors Theory) หรือทฤษฎีการจูงใจของเฮิร์กเบิร์ก (Herzberg's Theory of Motivation)

    หลักการและแนวคิด

    Herzberg ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของบุคลกรในองค์การ โดยศึกษาถึงทรรศนะคติของบุคคลที่มีต่อการทำงานเพื่อหาทางที่จะลดความไม่พอใจในการทำงาน เพื่อที่จะทำให้คนงานมีความรู้สึกที่ดีในการที่จะพยายามเสริมสร้างผลผลิตของงานให้มากขึ้น เขาพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่องานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
    1. ปัจจัยจูงใจ (Motivates Factors) เป็นปัจจัยกระตุ้นให้คนทำงาน โดยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ดีที่จะเกิดขึ้นกับพนักงาน อันจะทำให้พนักงานมีความพึงพอใจเกี่ยวกับงานที่จะทำ
    2. ปัจจัยอนามัย (Hygiene or Maintenance Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่จะสร้างความไม่พอใจในการทำงานให้กับพนักงาน ซึ่งจะเป็นตัวสกัดกั้นไม่ให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานขึ้นได้ หรือเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นที่จะป้องกันมิให้คนไม่พอใจในงานที่ทำอยู่

    ตอบลบ
  9. แนวคิดและทฤษฎีของ Douglas Mc Gregor

    ชื่อทฤษฏี : ทฤษฎีเอ็กซ์และทฤษฎีวาย (Theory X and Theory Y)

    หลักการและแนวคิด

    ทฤษฎีของแม็กซ์เกร์เกอร์ มีฐานคดีในการมองคนที่อยู่ในองค์การแยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
    1. ทฤษฎี X ถือว่า
    - คนโดยทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี่ยงงาน
    - ขาดความกรตือรือร้น ไม่มีความรับชอบ ปรารถนาที่จะเป็นผู้ตามมากกว่า
    - เห็นแก่ตัว เพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ
    - ไม่ฉลาด
    2. ทฤษฎี Y : เห็นว่า
    - คนชอบทำงาน ไม่ได้เป็นคนเกียจคร้าน
    - การควบคุมภายนอก ไม่ใช่เป็นวิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้
    - ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานเข้ามาตามศักยภาพ เป็นรางวัลที่มีความสำคัญที่จะทำให้คนมีความผูกพันอยู่กับองค์การ
    - คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป
    - คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ
    - ในปัจจุบันศักยภาพของคนยังไม่ได้รับการนำไปใช้

    ตอบลบ
  10. แนวคิดและทฤษฎีของ Edward Damming

    ชื่อทฤษฏี : PDCA

    หลักการและแนวคิด

    Dr. William Edwards Deming ได้พัฒนาวงจร PDCA ขึ้นมาจากแนวคิดของ Dr. W.A. Shewhart ในระยะแรกรู้จัก วงจร PDCA ในนาม Shewhart Cycle จากนั้น Dr. William Edwards Deming ได้นำพัฒนาปรับใช้ในการควบคุมคุณภาพในวงการอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น จึงมีชื่อเรียกว่า Deming Cycle (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น, 2552) เขาเชื่อว่า คุณภาพสามารถปรับปรุงได้ จึงเป็นแนวคิด ของการพัฒนาคุณภาพงานขั้นพื้นฐาน เป็นการกำหนดขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างระบบการผลิตให้สินค้ามีคุณภาพดี การให้การบริการดี หรือทำให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างมีระบบโดยใช้ได้กับทุกๆสาขา วิชาชีพแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ PDCA หรือ Deming Cycle คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย
    P (Plan) คือ ขั้นตอนการวางแผน เพื่อเลือกปัญหา ตั้งเป้าหมาย
    การแก้ปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา
    D (Do) คือ ขั้นตอนการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่วางไว้
    C (Check) คือ ขั้นตอนการตรวจสอบ และเปรียบเทียบผล
    A (Action) คือ การกำหนดเป็นมาตรฐานและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

    ตอบลบ
  11. แนวคิดและทฤษฎีของ Michael Hammer

    ชื่อทฤษฏี : Re-engineering

    หลักการและแนวคิด

    การรื้อปรับระบบ (Re-engineering)
    James Champy และ Michael Hammer ท่านทั้ง 2 ได้เขียนหนังสือที่โด่งดังมากในยุคนี้ชื่อ “Reengineering the Corporation” (1993)
    เสนอแนวคิดว่า “ถ้าองค์การจะอยู่รอดและสามารถแข่งขันได้ในอนาคต ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจ
    1.เปลี่ยนแปลงองค์การอย่างถอนรากถอนโคน (Radical Change)
    2. โดยปรับการดำเนินงานจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่เป็นการบริหารงานตามกระบวนการธุรกิจ (Business Process Management)

    ตอบลบ
  12. แนวคิดและทฤษฎีของ Peter F. Drucker

    ชื่อทฤษฏี : ทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่

    หลักการและแนวคิด

    Peter F. Drucker เป็นนักคิดที่บุกเบิกแนวคิดด้านการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจสมัยใหม่ เขามีแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการองค์กรที่แตกต่างอย่างมาก จากนักคิดด้านการบริหารรุ่นใหม่ๆ ที่การนำเสนอแนวคิดการบริหารธุรกิจ จะมีหลักวิชาการรองรับและมีวิธีคิดที่เป็นระบบแบบแผน แต่แนวคิดที่เป็นจุดเด่นของดรักเกอร์คือ ความพยายามที่จะเข้าใจความซับซ้อนต่างๆ ของสังคม และพยายามถอดสรุปสิ่งที่เข้าใจออกมาเป็นแนวคิดที่ได้มาจากประสบการณ์ด้านการปฏิบัติ ทฤษฎีการบริหารจัดการของ ประกอบด้วย
    1. การวางแผน (Planning) เป็นการกำหนดหน้าที่การงานที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ โดยกำหนดว่าจะดำเนินการอย่างไรและดำเนินการเมื่อไร เพื่อให้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ การวางแผนต้องครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
    2. การจัดองค์การ (Organizing) เป็นการมอบหมายงานให้บุคลากรในแผนกหรือฝ่ายได้ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ เมื่อแผนกหรือฝ่ายประสบความสำเร็จก็จะทำให้องค์การประสบความสำเร็จไปด้วย
    3. การนำ (Leading) เป็นการจูงใจ การชักนำ การกระตุ้นและชี้ทิศทางให้ดำเนินไปสู่การบรรลุเป้าหมาย โดยการเพิ่มผลผลิตและเน้นมนุษยสัมพันธ์ทำเกิดระดับผลผลิตในระยะยาวที่สูงกว่าภาวะงาน เพราะคนมักไม่ค่อยชอบภาวะงาน
    4. การควบคุม (Controlling) เป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหาร ที่จะต้อง รวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลดำเนินงาน เปรียบเทียบผลงานปัจจุบันกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ทำการตัดสินใจไปตามเกณฑ์หรือไม่

    ตอบลบ
  13. แนวคิดและทฤษฎีของ Oliver Sheldon

    หลักการและแนวคิด :

    Oliver Sheldon มีประสบการณ์ทำงานในการบริหารกองทัพและ Coca Works of Rowntree & Company เขาได้เขียนหนังสือปรัชญาของการจัดการ ในหนังสือเล่มนี้ได้แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดของเขาในการพยายามชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างการจัดการ(Management)และการบริหาร (Administration) ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ประการ
    1. การบริหาร (Administration) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย การวางแผน และประสานงานในหน้าที่ต่าง ๆ
    2. การจัดการ (Management) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำนโยบายและแผน มาดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดขึ้นไว้
    3. หน้าที่ในการจัดองค์การ เป็นกระบวนการเพื่อประสานงานระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์กร

    ตอบลบ
  14. แนวคิดและทฤษฎีของ Harrington Emerson

    หลักการและแนวคิด :

    Harrington Emerson มีแนวคิดได้นำเอาวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาบริหารงานคือ การบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์นั้น จะต้องมีการค้นพบ และทดลองเป็นอย่างดีว่า วิธีการนั้น ได้ผลจริง เมื่อประเมินผล สามารถบอกได้ว่า อะไรเกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อไหร่ จึงนำเอาข้อมูลเหล่านั้น มากำหนดเป็นหลักการบริหาร ใช้เพื่อปรับปรุงการจัดการกับประสิทธิภาพของคน โครงสร้าง และเป้าหมายขององค์กร เพื่อผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล มีองค์ประกอบ 12 ประการ
    1.กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน (Clearly defined ideals)
    2.ใช้หลักเหตุผลทั่วไป พิจารณาจากความน่าจะเป็นไปได้ของงาน (Common sense)
    3.ให้คำแนะนำที่ดี ที่ถูกต้องสมบูรณ์ (Competent counsel)
    4.รักษาระเบียบวินัยในการทำงาน (Discipline)
    5.ปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรม (Fair deal)
    6.มีข้อมูลพร้อมทำงานที่เชื่อถือได้ (Reliable information)
    7.มีการรายงานผลการดำเนินงานทุกระยะ (Dispatching)
    8.มีมาตรฐานงานเสร็จตามเวลา (Standard and Schedule)
    9.ผลงานได้มาตรฐาน (Standardized condition)
    10.ดำเนินงานถือเป็นมาตรฐานได้ (Standardized operation)
    11.มาตรฐานที่กำหนดสามารถปฏิบัติได้ (Standardized directing)
    12. ให้บำเหน็บรางวัล แก่ผู้ปฏิบัติงานดี (Efficiency reward)

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น